สมบูรณ์ - from Lolicon Siscon
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559
ฉู่ฉี่กุ้ง คืออะไร ?
" ฉู่ฉี่กุ้ง "
"ฉู่ฉี่" เป็นอีกหนึ่งอาหารไทย จะว่าไปก็คล้ายๆกับ "พะแนง"หรือแกงคั่ว แตกต่างกันก็ตรงน้ำพริกแกงที่ใช้ "น้ำพริกแกงฉู่ฉี่" จะไม่ใส่จำพวกเครื่องเทศ ลูกผักชี ยี่หร่า ส่วน "น้ำพริกแกงพะแนง" จะใส่ลูกผักชี ยี่หร่าลงไปด้วย
รวมทั้งถั่วลิสงหรือถั่วทอง โขลกรวมกันเป็นน้ำพริกแกงพะแนงและที่แตกต่างกันอย่างเห็ดได้ชัด พะแนงมักจะมากน้ำมักนิยมใช้เนื้อสัตว์บก จำพวกเนื้อหมู, เนื้อวัว หรือเนื้อไก่และพะแนงมักจะใส่มะเขือพวงลงไปด้วย
ส่วนฉู่ฉี่ มักจะใช้สัตว์น้ำ จำพวกปลา หรือกุ้งเป็นส่วนมากเช่น ฉู่ฉี่ปลาหมอ ฉู่ฉี่ปลาเนื้ออ่อน หรือฉู่ฉี่กุ้งและที่สำคัญมันทำได้ง่าย และอร่อยมากอีกด้วย!!น้ำแกงฉู่ฉี่จะค่อนข้างเข้มข้น ส่วนกรรมวิธีในการปรุงก็คล้ายๆกันครับ ฉู่ฉี่ กับพะแนง
ประโยชน์ของฉู่ฉี่กุ้ง
สำหรับใครที่ชื่นชอบการทานอาหารทะเล คงไม่พลาดกับการสั่งอาหารจานกุ้งทั้งต้มยำกุ้งหรือกุ้งอบวุ้นเส้น แต่ทราบหรือไม่ค่ะว่านอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว
กุ้งยังมีประโยชน์อีกด้วยถึงแม้ว่าหลายคนจะคิดว่ากุ้งมีคอเลสเตอรอลสูง แต่จริงๆ แล้วคอเลสเตอรอลที่พบในกุ้งนั้น เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และกุ้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่น กระปรี้ประเปร่า และแคลเซียมที่อยู่ในเปลือกกุ้งก็ยังสามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงไม่น่าเชื่อเลยนะว่าเจ้ากุ้งรสชาติแสนอร่อยจะมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ แต่ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีก็ควรจะทานแต่พอเหมาะพอควร และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย เพื่อไม่ประมาทและมีสุขภาพที่ดี
ในกะทิมีวิตามินหลายชนิด แร่ธาตุ และอิเล็กโทรไลท์ รวมทั้งโพแทสเซียม แคลเซียม และคลอไรด์ไขมันอิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวถูกสร้างขึ้นจากกรดไขมันห่วงโซ่สั้นและห่วงโซ่กลางได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นพลังงานแทนการจัดเก็บเป็นไขมัน ดังนั้นแม้ว่าไขมันอิ่มตัวจะสูง แต่มะพร้าวสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้
กรดไขมันที่มีขนาดปานกลาง ซึ่งถูกย่อยได้ง่าย และเคลื่อนย้ายได้สะดวก เมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านลำคอไปยังกระเพาะเข้าสู่ลำไส้ แล้วไปถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับโดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้บริโภคกะทิจึงแข็งแรงเพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคเข้าไป
พริกแกงคั่ว
ส่วนผสม น้ำพริกแกงคั่ว (สำหรับ 100 กรัม)
• พริกแห้งเม็ดใหญ่ 5 เม็ด
• เกลือป่น 1 ช้อนชา
• ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
• ตะไคร้หั่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
• หอมแดงซอย 4 ช้อนโต๊ะ
• กระเทียมซอย 2 ช้อนโต๊ะ
• กะปิ 1 ช้อนชา
วิธีทำน้ำพริกแกงคั่ว
• 1. แกะเมล็ดจากพริกแห้ง แล้วจึงนำผิวพริกแช่น้ำไว้สักครู่ แล้วบีบน้ำออกจนพริกหมาด จึงหั่นละเอียด
• 2. โขลกพริกแห้งกับเกลือให้ละเอียด ใส่ข่า ตะไคร้ โขลกจนละเอียดเติมหอม กระเทียม โขลกให้เข้ากัน จึงใส่กะปิโขลกให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน
• 3. เทน้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ ลงในกระทะใช้ไฟอ่อน พอน้ำมันอุ่น ใส่น้ำพริกลงผัดประมาณ 3 นาที แล้วตักออกใส่ภาชนะ
เคล็ดลับ : พริกแห้งเม็ดใหญ่ ควรเลือกพริกที่แห้งสนิท สีแดงเข้ม เม็ดยาวเต็ม มีก้านติด ไม่หัก ไม่ขึ้นรา ไม่มีกลิ่นอับ
กุ้ง
"กุ้ง" นอกจากอร่อยแล้ว ยังเป็นอาหารสารพัดประโยชน์
กุ้งมีไขมันน้อยมาก และไม่มีไขมันอิ่มตัวเลย กุ้งประกอบด้วยสังกะสีและซีลีเนียมในปริมาณสูง แร่ธาตุเหล่านี้เสริมความแข็งแกร่งให้กับภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความต้านทานต่อการติดเชื้อ กุ้งยังช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย จึงต้องมีศักยภาพในการทำงานที่ระดับสูงสุดเพื่อกำจัดสารพิษ และของเสียให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่าสังกะสีในกุ้งมีประโยชน์ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ตับยังมีบทบาทในการเผาผลาญไขมันด้วย
กุ้งมีเกลือสูง ดังนั้นควรล้างก่อนใช้ และไม่ควรเติมเกลือเพิ่มไปในอาหารที่ประกอบด้วยกุ้ง
กุ้งมีไขมันน้อยมาก และไม่มีไขมันอิ่มตัวเลย กุ้งประกอบด้วยสังกะสีและซีลีเนียมในปริมาณสูง แร่ธาตุเหล่านี้เสริมความแข็งแกร่งให้กับภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความต้านทานต่อการติดเชื้อ กุ้งยังช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย จึงต้องมีศักยภาพในการทำงานที่ระดับสูงสุดเพื่อกำจัดสารพิษ และของเสียให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่าสังกะสีในกุ้งมีประโยชน์ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ตับยังมีบทบาทในการเผาผลาญไขมันด้วย
กุ้งมีเกลือสูง ดังนั้นควรล้างก่อนใช้ และไม่ควรเติมเกลือเพิ่มไปในอาหารที่ประกอบด้วยกุ้ง
ใบมะกรูด
สรรพคุณ : ตำรายาไทย: ใบมะกรูด มีรสปร่า หอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน กัดเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสียฟอกโลหิตระดู ขับระดู ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดปรุงอาหารดับกลิ่นคาว
ชื่อเครื่องยา
|
มะกรูด(ใบ)
|
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
|
|
ได้จาก
|
ใบ
|
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
|
มะกรูด
|
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
|
มะขุน มะขูด (พายัพ) ส้มกรูด ส้มมั่วผี(ใต้)
มะหูด(หนองคาย)
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Citrus hystrix DC.
|
ชื่อพ้อง
|
Citrus papeda Miquel. Citrus tuberoides J.W. Bennett
|
ชื่อวงศ์
|
Rutaceae
|
วิธีการทำ
1. เอาน้ำมันเทใส่กระทะโดยใช้ไฟอ่อนพอน้ำมันร้อนให้เราเอาพริกแกงลงไป
2. ผัดพริกแกงให้แตกมันจากนั้นเราค่อยๆเติมกะทิลงไปทีละน้อยจนหมดเคี่ยวให้กะทิแตกมันดี
3. ปรุงรสตามใจชอบ
4. หลังจากปรุงเสร็จแล้วเราก็เอากุ้งลงไปในหม้อ
5. เมื่อกุ้งสุกก็ตักกุ้งออกจากหม้อใส่จาน
2. ผัดพริกแกงให้แตกมันจากนั้นเราค่อยๆเติมกะทิลงไปทีละน้อยจนหมดเคี่ยวให้กะทิแตกมันดี
3. ปรุงรสตามใจชอบ
4. หลังจากปรุงเสร็จแล้วเราก็เอากุ้งลงไปในหม้อ
5. เมื่อกุ้งสุกก็ตักกุ้งออกจากหม้อใส่จาน
สมาชิกกลุ่ม
3.
นาย
ชนกันต์ ใยเทศ ม.5/3 เลขที่
14
10. นาย นฤเทพ อินทรวิสุทธิ์ ม.5/3 เลขที่ 40
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)